วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

บทลงโทษในการทุจริตในการสอบ



     จากภาพด้านบน เป็นการทุจริตการสอบ ในแบบฉบับโบราณหรือพื้นฐานมาก แค่หันไปมองคำตอบของผู้อื่น คิดว่าภาพแค่นี้ น่าจะสื่อได้บ้าง เพราะเชื่อว่าทุกคนคงประสบกันมาตั้งแต่สมัยอยู่ประถม มัธยม หรือนั่งอ่านหนังสือ ดูหนังด้วยกัน ก็มีแอบดูบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่จะมาใช้ในการสอบไม่ได้ ถือว่าผิดที่ผิดเวลา


แม้ว่าจะเป็นการชะเงอดู ไม่ทันได้บันทึกความจำว่าเขาเขียนอะไรบ้าง ก็มีผลไปถึงการส่อทุจริตได้ เพราะต่อให้ทุจริตไม่สำเร็จ อาจจะเป็นการส่อได้ เช่นง่าย ๆ พกพาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสอบเข้าห้องสอบ แม้ยังไม่ทำการสอบหรือยังไม่ทันได้เปิดข้อมูลเพื่อดูระหว่างทำข้อสอบ แค่พกเข้ามาโดยไม่รู้ตัว อาจจะเป็นการส่อทุจริตได้

เพื่อความสบายใจ สอบครั้งใด ให้ไปตัวเปล่า ให้เหลือแค่ความทรงจำ ความเข้าใจ และรอยยิ้มก็พอ เพราะการสอบเป็นเพียงการวัดผลการศึกษาในรูปแบบหนึ่ง เป้าหมายที่แท้จริง คือ การนำไปใช้ได้จริงและใช้ในทางที่เกิดประโยชน์

สำหรับโทษล่าสุดนี้ เพิ่งได้ตกลงกันใหม่ตามมติที่ประชุม คือ ให้พักการศึกษา ๒ ภาคการศึกษา ในภาคการศึกษาที่กระทำความผิดและภาคการศึกษาถัดไป (ไม่รวมภาคการศึกษาฤดูร้อน)

ดูจากโทษแล้ว รู้สึกใจไม่ดีกับผลที่ทำลงไป เพราะถ้าเราทำได้ แม้ทำได้น้อย ก็แค่ติด E แต่ไม่ถูกพักการศึกษา แต่ถ้าทำขึ้นมา ก็จะมีข้อสงสัยในระเบียนผลการเรียนที่ปรากฎว่าหายไป ๑ ปีการศึกษา เหมือนโดนหลายเท่าตัว เพราะการทุจริตในการสอบ บ่งบอกถึงความคิดของบุคคลที่อาจส่งผลกระทบในระยะยาวต่อตนเองและสังคมได้

อยากนักศึกษาทุกคนเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ไม่ต้องอ่านหนังสือ ท่องหนังสือ ช่วงสอบเสมอไป แค่ทบทวนเนื้อหา แบบฝึก และแลกเปลี่ยนก็พอ เพราะบ่อยครั้งจะเห็นว่ามีนักศึกษาบางกลุ่มรวมตัวกันไปติว เหมือนไปสอนใหม่ บางคนไม่ได้เตรียมตัวอะไรมาก รอติวอย่างเดียว บางครั้งอาจจะไม่มีความรู้เดิมพอที่จะแลกเปลี่ยนหรือตอบย้ำ ลับคมสมองให้แตกฉานได้

แต่ก็ยังดีกว่าไม่ได้ทำอะไรเลย เพราะลำพังจะหาเวลาจะทบทวนก็ไม่เพียงพอแล้ว ขอให้เรียนอย่างมีความสุขแล้วกัน ทำตามความฝันของตัวเองและทำเพื่อประโยชน์ของสังคมต่อไป

ที่มา http://www.eng.ubu.ac.th

การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทย

การปฏิรูปเพื่อแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในประเทศไทย
        สภาพปัญหาการทุจริตในประเทศไทยเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มหนักหน่วงและรุนแรงมากขึ้น หากปล่อยให้สภาพการณ์ยังดำเนินไปในลักษณะดังกล่าวอาจนำมาสู่ปัญหาการล้มละลายของประเทศ แต่ในขณะเดียวกันการทุจริตคอรัปชั่นกลับสร้างความมั่งคั่งให้กับฝ่ายการเมืองที่แสวงประโยชน์จากการใช้อำนาจรัฐ การแก้ไขปัญหาการทุจริตจึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปัญหารทางการเมือง ซึ่งในที่นี้จะแยกพิจารณาออกเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้ 1. สภาพปัญหา 2. ประเด็นข้อ



พิจารณาและข้อเสนอ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. สภาพปัญหา
หากกล่าวโดยสรุปปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในสังคมไทยเป็นปัญหาที่มีมิติเกี่ยวข้องหลายมิติ ซึ่งในที่นี้อาจสรุปได้ดังนี้
1.1 ปัญหาการทุจริตมีรากฐานใหญ่มาจากระบบการเมือง เมื่อระบบการเมืองเป็นระบบรวมศูนย์ผูกขาดหรือที่เรียกว่า ระบบเผด็จการรัฐสภาโดยพรรคการเมืองนายทุนระบบนี้อาศัยการให้ผลประโยชน์ในรูปแบบต่างๆเป็นเครื่องผูกมัดระบบการเมือง ซึ่งนำมาสู่การทุจริตคอรัปชั่นอย่างมโหฬาร
1.2 ความซับซ้อนของการทุจริตเชื่อมโยงกับการทุจริตเชิงนโยบาย อาศัยอำนาจสูงสุดทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเป็นฐานในการดำเนินการ โดยการทุจริตเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ชั้นการแปรญัตติงบประมาณจนไปถึงการดำเนินการในระดับพื้นที่ การที่องค์กรระดับสูงเข้าไปเกี่ยวข้องกับการทุจริตยิ่งทำให้มีปัญหาในการตรวจสอบมากขึ้น
1.3 ระบบตรวจสอบรวมทั้งองค์กรที่รับผิดชอบขาดประสิทธิภาพ การวางระบบองค์กรในการตรวจสอบให้องค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจในการตรวจสอบโดยองค์กรของรัฐอื่นๆไม่มีส่วนเกี่ยวข้องก่อให้เกิดปัญหาในระบบการตรวจสอบของรัฐหลายประการ ตั้งแต่ปัญหาการมีเรื่องเข้าสู่การพิจารณามากเกินกำลังของบุคลากร ไปจนถึงการขาดการประสานร่วมมือกันขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ
1.4 ระบบการลงโทษไม่ก่อให้เกิดความตระหนักต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง สืบเนื่องจากระบบการตรวจสอบของภาครัฐขาดประสิทธิภาพ ดังนั้นระบบการลงโทษจึงไม่ส่งผลให้เกิดความเกรงกลัวต่อผู้กระทำความผิด ประเด็นสำคัญของการลงโทษคือประสิทธิภาพของการดำเนินการพิจารณาที่ใช้ระยะเวลาไม่นานนัก เพื่อให้ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด
1.5 ประชาชนบางส่วนได้ประโยชน์จากการทุจริต โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโครงการประชานิยม กลุ่มบุคคลดังกล่าวมักจะเป็นฐานทางการเมืองของฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น การทุจริตดังกล่าวจึงนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายทางการเมือง การทุจรติจึงไม่ใช่เรื่องของนักการเมืองเพียงลำพังที่จะได้ประโยชน์ หากแต่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ให้กับเครือข่ายด้วย
1.6 การทุจริตเกี่ยวโยงกับภาคเอกชน ภาคการเมืองและภาคราชการ การทุจริตทั้งหลายมิอาจสำเร็จผลได้จากการกระทำของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หากแต่มีความเกี่ยวข้องกับของหลายฝ่าย ดังนั้นการแก้ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นจึงมิใช่เพ็งเล่งแต่ภาคการเมืองและภาคราชการเท่านั้น หากแต่ต้องดำเนินการคู่ขนานไปกับภาคเอกชนด้วย ซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การทุจริตคอรัปชั่นสำเร็จผลได้
1.7 การทุจริตมีปัญหารากฐานจากทัศนคติของผู้คนในสังคม ทัศนคติ วัฒนธรรมและความแข็งในทางคุณธรรมของสังคมเป็นภาคสะท้อนถึงปัญหาการทุจริตของสังคมไทย ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการทุจริตในระยะยาวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปลูกฝังคุณธรรม ซึ่งเคยมีความเข้มแข็งในสังคมไทยให้กลับมาเข้มแข็งดังเดิม

2. ประเด็นข้อพิจารณา
มาตรการในการดำเนินการกับปัญหาการทุจริตอาศัยมาตรการหลัก ๕ ประการ ดังนี้ 2.1 ลดโอกาสการทุจริต
2.2 เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราม
2.3 สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคม
2.4 การบริหารภาครัฐมีความโปร่งใสมากขึ้น
2.5 การปรับเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับเรื่องทุจริต โดยมีประเด็นข้อพิจารณา ดังนี้
2.5.1 ลดโอกาสการทุจริต
-ควรเพิ่มความผิดฐาน การร่ำรวยผิดปกติให้เป็นความผิดทางอาญาด้วย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตฯ ซึ่งไทยได้เข้าเป็นภาคีแล้ว
- ควรเพิ่มกรณีของ สมคบกันทุจริตควรกำหนดให้เป็นความผิดตามแนวทางกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อสามารถใช้เครื่องมือตามกฎหมายดังกล่าวมาใช้ในการป้องกันและปรามการทุจริตที่มีการสมคบกันทุจริตได้
- เรื่อง การพัสดุควรกำหนดให้เป็นพระราชบัญญัติเพื่อมิให้คณะรัฐมนตรีใช้อำนาจในการยกเว้นการบังคับใช้ทั้งนี้เพื่อทำให้กระบวนการในการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใสมากขึ้น
- รัฐมนตรีจะต้องไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง โดยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายประจำที่จะต้องรับผิดชอบ ฝ่ายรัฐมนตรีหรือฝ่ายการเมืองเป็นเพียงผู้กำหนดนโยบายแต่การดำเนินการให้บรรลุตามนโยบายโดยเฉพาะกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายประจำ
- ความผิดทางจริยธรรมของนักการเมืองควรกำหนดให้มีองค์กรและความรับผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งนี้ หากอาศัยเกณฑ์เฉพาะความผิดในทางอาญามาใช้จะทำให้กระบวนการในการพิจารณา รวมทั้งการรวบรวมพยานหลักฐานมีข้อจำกัดในการเอาผิดต่อฝ่ายการเมืองที่เกี่ยวข้อง

2.5.2 เพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปราม
- กำหนดให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต” (ปปช.) และ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ” (ปปท.) เป็นองค์กรในระดับ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะและการได้มาของกรรมการเช่นเดียวกับ ปปช.
- ปปช. รับผิดชอบตรวจสอบผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ส่วน ปปท. รับผิดชอบตรวจสอบข้าราชการ โดยให้เป็นองค์กรอิสระจากฝ่ายบริหารและคณะรัฐมนตรี
- เมื่อมีการร้องเรื่องการทุจรติหน่วยต้นสังกัดมีหน้าที่รายงาน ปปช. หรือ ปปท. และมีหน้าที่ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นและรายงานต่อ ปปช. หรือ ปปท. แล้วแต่กรณี หากสรุปผลการสอบไม่มีความผิดทางวินัยก่อนแจ้งผลต่อผู้เกี่ยวข้องจะต้องรายงานต่อ ปปช. หรือ ปปท. ก่อน และหากมีกรณีที่หน่วยงานต้นสังกัดช่วยเหลือหรือบิดเบือนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและหัวหน้าส่วนราชการจะต้องมีความผิดในทางอาญา
- ปปช.และ ปปท. ควรมีอำนาจในการสอบสวนด้วย ไม่ใช่อาศัยการไต่สวนอย่างเดียว ทั้งนี้เพื่อให้สามารถแสวงหาข้อเท็จจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เมื่อ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน, ผู้ตรวจการแผ่นดิน, หรือหน่วยงานตรวจสอบที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องทุจรติแล้วเมื่อส่งเรื่องมาที่ ปปช. หรือ ปปท. ควรมีการตั้งอนุกรรมการร่วมกันเพื่อดำเนินการชี้มูลต่อไป โดยไม่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาเหมือนกรณีทั่วไป
- เพื่อให้การสั่งคดีของอัยการสูงสุดปราศจากการมีส่วนได้เสียและเกี่ยวข้องใดๆ ต้องห้ามมิให้พนักงานอัยการไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือกิจการอื่นของรัฐ โดยไม่มีข้อยกเว้น
-ให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการพิจารณาสั่งฟ้องคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจเรียกชื่อว่า คณะกรรมการอัยการพิเศษเป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจสำหรับแต่ละคดี
- ควรมีองค์กรที่คอยตรวจสอบงบประมาณและการใช้งบประมาณ เนื่องจากปัญหาการทุจริตมีความเกี่ยวโยงตั้งแต่การจัดทำงบประมาณในชั้นของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ ดังนั้น เพื่อป้องกันการทุจริตจึงควรมี คณะกรรมการติดตามตรวจสอบงบประมาณและการใช้งบประมาณ

2.5.3 สร้างความเข้มแข็งให้กับภาคประชาสังคม
- การคุ้มครองประชาชนหรือผู้แจ้งเบาะแสควรมีมาตรการในการคุ้มครองที่มีหลักประกัน
-การให้ประชาชนสามารถฟ้องร้องคดีได้ควรเป็นมาตรการสุดท้ายที่ไม่มีแนวทางอื่นใด
- องค์กรภาคประชาชนจะต้องเข้ามามีบทบาททั้งในระดับการกำกับการทำหน้าที่ของ ปปช./ปปท. และโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีกฎหมายสนับสนุนภาคเอกชนในการทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- จัดให้มีกองทุนเพื่อสนับสนุนองค์กรภาคประชาชนในการทำหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ทั้งนี้ อาจมีความเชื่อมโยงกับ สภาพลเมืองที่จะมีการจัดตั้งตามกฎหมายการกระจายอำนาจ

2.5.4 การบริหารภาครัฐมีความโปร่งใสมากขึ้น
- ข้อมูลของราชการควรให้มีความโปร่งใสและเข้าถึงง่าย โดยข้อมูลที่สำคัญควรให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ทางระบบอิเลกทรอนิกส์ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
-ในการบริหารงานที่มีผลกระทบต่อประชาชนต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินโครงการมาตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้นโครงการ
- องค์กรภาคประชาชนต้องมีส่วนร่วมและสามารถเข้าถึงในกระบวนการตรวจสอบ และการป้องกันและปราบปรามการทุจริตร่วมกับองค์กรภาครัฐมากขึ้นในทุกระดับ
-ให้มีการเปิดเผยข้อมูลและสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินสูงถึงสูงมากในระบบอิเลกทรอนิกส์ที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย

2.5.5 การปรับเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวกับเรื่องทุจริต
- กำหนดนิยามและความคิดของการ ทุจริตคอรัปชั่นตามแนวทางขององค์กรความโปร่งใสสากลโยมีความหมายที่กว้างขวางขึ้น เพื่อนำไปสู่การสร้างกระบวนการปรับเปลี่ยนทัศนะคติและค่านิยม

- รณรงค์การสร้างนิยามและความคิดอย่างต่อเนื่องในสังคม ด้วยการใช้สื่อทุกประเภทเพื่อการปรับเปลี่ยนทัศนะเกี่ยวการทุจริตและคอรัปชั่นให้เป็นไปตามทรรศนะที่พึงประสงค์

ที่มา https://kruasri.wordpress.com/author/vkruasri2012/page/4/

การทุจริต คอร์รัปชั่น มีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติอย่างไร

การทุจริต คอร์รัปชั่น มีผลกระทบต่อสังคม และประเทศชาติอย่างไร

เมื่อกล่าวถึง การทุจริต” “การคอร์รัปชั่นหรือ การฉ้อราษฎร์บังหลวง”  มักเข้าใจกันง่าย ๆ ว่าหมายถึง การโกงนั่นเอง  หรือ การไม่ซื่อสัตย์ สุจริต ของบุคคลกลุ่มหนึ่ง ที่ร่วมมือกันทำความชั่วโดยเจตนา มีการไตร่ตรอง วางแผนอย่างมีขั้นตอน หรือมีกระบวนการอย่างแยบยล

                คำว่า ฉ้อราษฎร์บังหลวงมีในสังคมไทยมาแต่โบราณ หมายถึง การโกงประชาชนโดยไม่ให้ทางการเห็นตั้งใจบิดเบือนข้อมูล ให้ผิดจากความเป็นจริง เพื่อให้ตนและพวกพ้องได้ประโยชน์

                ดังนั้น การโกงจึงเปรียบเหมือน มะเร็งร้ายหรือ มหันตภัยเงียบที่คุกคามแอบแฝงอยู่ในสังคมมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน นับวันแต่จะมีกลเม็ดที่สลับซับซ้อนยิ่งขึ้น มีผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นกระบวนการ จำนวนหลายฝ่าย หลายคนมากกว่าแต่ก่อน

                 “การโกงเกิดขึ้นได้อย่างไร ส่วนใหญ่เกิดจากความโลภของคนที่อยู่ใกล้ชิดหรือรู้เห็นลู่ทางที่จะกอบโกยผลประโยชน์เข้าตนและพวกพ้อง ถ้าเป็นการ โกงเงินก็จะเริ่มจากผู้ถือเงิน อาจเป็น ฝ่ายเหรัญญิกหรือ คนทำงานการเงิน ของแต่ละหน่วยงาน เห็นเงินแล้วเกิดกิเลสตัณหา อยากได้  ถ้าหากเป็นเงินก้อนใหญ่ มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ก็กระจายความเสี่ยงโดยแบ่งประโยชน์กัน ยิ่งประธาน / หัวหน้างานหรือระดับบริหาร ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ รู้เห็นเป็นใจ การโกงก็ยิ่งทำได้แนบเนียน สารพัดวิธีการ หลากหลายขั้นตอน ในการหลอกลวงเพื่อตบตาประชาชน หรือคนอื่นซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่ที่เสียผลประโยชน์ ทำอย่างไรได้เมื่อเหลือบไรในสังคมสุมหัวกันสูบเลือดเพื่อนพ้องน้องพี่ ก็มีแต่จะผอมซีดและเหี่ยวแห้งตายไปในที่สุด มหันตภัยเงียบนี้แฝงอยู่ในทุกสังคม ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ และองค์การระดับโลก

                “การทุจริตคดโกง มีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติอย่างไร”  ในเมื่อการโกงเป็น มะเร็งร้ายหรือมหันตภัยเงียบที่คุกคามทุกสังคม มันจึงไม่ต่างอะไรจาก สนิม”(การโกง)ที่กัดกร่อนเหล็ก”(สังคม) หากปล่อยให้เวลาล่วงเลยนานเข้า โครงหลังคาบ้านหรืออาคารขนาดใหญ่ที่เป็นเหล็กก็จะผุกร่อนและสลายไปในที่สุด ดังสำนวนที่ว่า สนิมเหล็กเกิดแต่เนื้อในตนกัดกร่อนตัวเองจนไม่เหลืออะไร แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร จะนิ่งเงียบเป็นคุณเฉยทำตาปริบ ๆ โดยไม่ช่วยกันหาทางป้องกันหรือแก้ไขสถานการณ์ มะเร็งร้ายที่กำลังคุกคามสังคมก่อนที่ทุกอย่างจะสายไปกว่านี้อย่างนั้นหรือ

                ในระดับประเทศ รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยมักมีเรื่องราวฉาวโฉ่ การทุจริต คอร์รัปชั่นเพราะมีคนหลายกลุ่มมาเกี่ยวข้องและหลายขั้นตอนการดำเนินงานทุกโครงการที่ใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลซึ่งเป็นเงินภาษีจากประชาชนเจ้าของประเทศตัวจริง ทุกโครงการจึงยากแก่การควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เราจึงได้ยินข่าวการทุจริตการสร้างโรงพักตำรวจทั่วประเทศ 396 แห่ง และโครงการไทยเข้มแข็งอย่างมโหฬารของรัฐบาลชุดก่อน และข่าวเรื่องการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวจำนวนหลายแสนล้านของรัฐบาลชุดปัจจุบัน โครงการบริหารจัดการน้ำจำนวน 3.5แสนล้านที่กำลังดำเนินอยู่ก็ไม่ค่อยโปร่งใสนัก รวมทั้งโครงการพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมของประเทศที่มีเม็ดเงินมหาศาลถึง 2.2  ล้านล้านบาทที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างน้อย ๆ ก็ค่าเปอร์เซ็นต์หรือที่เขาเรียกว่าค่า คอมมิชชั่นจากเมื่อก่อนร้อยละ 10 ปัจจุบันกล่าวกันว่ากระเถิบสูงถึงร้อยละ 30-40 แสดงว่าการพัฒนาแต่ละโครงการตกถึงประชาชนหรือประชาชนได้รับประโยชน์จริงเพียงร้อยละ 60-70 ของเงินงบประมาณที่หว่านลงมาในแต่ละโครงการ นี่ยังไม่นับค่าใต้โต๊ะเพื่อให้ได้งานที่เขาเรียกกันว่า ค่าฮั้ว และอาจมีเม็ดเงินส่วนอื่นอีกที่ทำให้ผลประโยชน์ของส่วนรวมเสียไป

                “จะป้องกันแก้ไข ปัญหาการทุจริตคดโกงได้อย่างไรนอกจากช่วยกันเป็นหูเป็นตากระจายข่าวการโกงให้สังคมรับรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ ผ่านสื่อทุกประเภททั้ง หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์มีส่วนในการเปิดโปงกระบวนการทำงานของคนชั่วเหล่านี้ได้อย่างใกล้ชิดและมีประสิทธิภาพสูงยิ่งในปัจจุบัน หากกลุ่มคนรักและห่วงใยสังคมรวมตัวกันเป็นเครือข่าย ทำงานอย่างจริงจังก็จะช่วยได้ไม่น้อย

                “งานศิลปวัฒนธรรม จะมีบทบาทในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การทุจริตคดโกงได้อย่างไรในฐานะท่านเป็นศิลปินน้อยใหญ่ทั้งหลาย ท่านสามารถ ติดอาวุธทางปัญญาให้สังคมเสพงานศิลปวัฒนธรรมสาขาที่ท่านถนัดหรือสนใจ โดยการขยันสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพออกสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นผลงานด้าน วรรณกรรม”  งานศิลปวัฒนธรรมด้าน ภาพวาดหรือ ทัศนศิลป์ ตลอดจนสื่อพื้นบ้านอย่างศิลปการแสดงดนตรีและหมอลำที่มีเนื้อหาสาระสะท้อนถึงภัยของความไม่ซื่อสัตย์สุจริต หรือชี้ให้เห็นความเลวร้ายของ การทุจริต โกงกินเป็นการปลูกจิตสำนึกที่ดีงามแผ่เป็นวงกว้างออกไปจนมีปริมาณมากพอ สู่เยาวชน นักเรียนและประชาชน ที่มาเข้าร่วมโครงการ ศิลปินสัญจรสอนศิลป์ถิ่นทุรกันดารในครั้งนี้ ซึ่งเปรียบเสมือนต้นกล้าพันธุ์ดีที่จะเติบโตเป็นข้าวปลูกในวันข้างหน้า ที่พร้อมจะหว่านลงไปในดินที่มีความชื้นและอุณหภูมิพอเหมาะ ก็จะงอกงามเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าและข้าวปลูกพันธุ์ดีของแผ่นดิน ของสังคมประเทศชาติ กลายเป็นเครือข่าย เป็นกำแพงล้อมรอบปกป้องสังคม ให้อยู่รอดปลอดภัย และมีความสุขกันถ้วนหน้าจากเงินภาษีที่เป็นน้ำพักน้ำแรงของเราอย่างภาคภูมิ...

ที่มาhttp://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000034459


10 วิธีทุจริตในการสอบ

10 วิธีทุจริตในการสอบ
หลายคนอาจจะมีกลโกงข้อสอบในแบบของตัวเองซึ่งก็แตกต่างกันออกไป แต่ในวันนี้ Clipmass จะพามาชม 10 วิธีการโกงข้อสอบ(แอบฮา)ที่เกิดขึ้นจริงในสังคม (เคยทำแบบไหนยอมรับมา?) ซึ่งแต่ละวิธีนั้นเป็นการโกงข้อสอบที่แนบเนียน
1.            ซ่อนโพยไว้ในถุงน่อง


2.            เล็บมือ (ต้องมีความชำนาญในการเขียนตัวหนังสือให้เล็กมากที่สุดเท่าที่จะทำได้)





3.            ซ่อนไว้ในซอกหน้าอก (ใช้ได้เฉพาะผู้หญิงเท่านั้น)

4.            ลายแทงในขวดน้ำ


5.            ภาพนี้มีอะไรผิดปกติลองดู(ทำกันเป็นขบวนการเลยทีเดียว)

6.            เขียนใสเทปใสแล้วนำไปติดไว้ที่ปากกา

7.            แก้วน้ำ

8.            โทรศัพท์มือถือทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิด

9.            เขียนใส่กระดาษแล้วติดไว้ที่ต้นขา


10.    ถ้าใส่เสื้อแขนยาว โอกาสดีๆ ย่อมมีมากกว่า
ที่มา http://share.psu.ac.th/blog/studentdiscipline/37131









การสอบกับการคอร์รัปชัน

การสอบกับการคอร์รัปชัน
     Nikkei Asian Review ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม ถึง 2 สิงหาคม 2558 ได้ตีพิมพ์เรื่องราวการทุจริตในการสอบเพื่อสอบเข้าโรงเรียนแพทย์ในประเทศอินเดีย ประเด็นนี้กลายเป็นเรื่องที่ทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งน่าจะเป็นกรณีศึกษาสำคัญให้กับแวดวงการศึกษา และการแก้ปัญหาคอร์รัปชันของประเทศไทยได้บ้างไม่มากก็น้อย 
เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2558 เป็นวันสอบเตรียมแพทย์ของนักเรียนชาวอินเดียทั่วประเทศกว่า 600,000 คน มีนักเรียนถูกจับได้ว่าโกงระหว่างทำข้อสอบเกือบ 2,000 คน (ยังมีบางคนที่หลบหนีอยู่) และทางการได้สั่งนักเรียนจำนวน 50 คน ไม่ให้เข้าสอบ เพราะตรวจพบการครอบครองอุปกรณ์สื่อสารเทคโนโลยีระหว่างสอบ เช่น การใช้ปากกาสแกน (scan) กระดาษคำถาม แล้วส่งข้อมูลผ่านบลูทูธ (Bluetooth) ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง ที่สามารถตอบคำถามและส่งคำตอบกลับไปยังนักเรียนได้ มีบางคนใช้นาฬิกาดิจิทัลที่ซ่อนกล้องกับบูลทูธไว้ หรือชุดชั้นในที่ติดไมโครชิพ ที่สามารถรับสายโทรศัพท์เข้าได้ โดยชิพเหล่านี้จะเชื่อมต่อกับหูฟังเล็กๆ เพื่อให้ผู้ข้อสอบได้ยินคำตอบ เป็นต้น

     การโกงข้อสอบในประเทศอินเดียไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เพราะทำอย่างแพร่หลายและทำมาเป็นระยะเวลาหลายสิบปี แต่ที่น่าตกใจคือ มีจำนวนนักเรียนที่ทุจริตมีเพิ่มมากขึ้น โดยมีการพยายามใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือสื่อสารทางเทคโนโลยีในการทุจริต รวมถึงมีการติดสินบนนักการเมือง เพื่อนำข้อสอบออกมาก่อนวันสอบจริง หรือขอเปลี่ยนสลับตัวผู้เข้าสอบ นอกจากนี้ ยังมีคนในครอบครัวให้การสนับสนุนการส่งโพยระหว่างทำการสอบด้วย การทุจริตอย่างเป็นกระบวนการ โดยมีผู้รู้เห็นเป็นใจตั้งแต่ครอบครัวของนักเรียน ตัวนักเรียน ผู้เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ได้ปรากฏชัดเจนมากในเหตุการณ์ทุจริตครั้งนี้

     ยิ่งไปกว่านั้น  มีการทุจริตซื้อขายที่นั่งเพื่อเข้าเรียนที่โรงเรียนแพทย์ โดยราคาซื้อขายในระดับปริญญาตรี อยู่ที่ 5 ล้านรูปี (ประมาณ USD 80,000) ส่วนในระดับปริญญาโทราคาซื้อขายอยู่ระหว่าง 8 ล้านรูปี ถึง 25 ล้านรูปี เช่น หลักสูตรปริญญาโท คณะรังสีวิทยา มีการขายในราคา 20 ล้านรูปี เป็นต้น

     มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุนี้ที่เป็นเช่นนี้ว่า เกิดจากการที่นักเรียนจำนวนมากในอินเดียอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ขาดการให้ความสำคัญ กับการอบรมคุณธรรมจริยธรรมขั้นพื้นฐานเท่าที่ควร และในสังคมเอง มีมุมมองต่อความสำเร็จว่า เป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจริงของเด็กแต่ละคน ประกอบกับการสนับสนุนของครอบครัวให้นักเรียนกระทำทุจริตด้วย

     นอกจากนี้ ในรายงานผลการสอบเข้าโรงเรียนแพทย์พบว่า คนที่สอบได้และได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนจากครอบครัวมีฐานะหรือมีอำนาจในสังคม แต่แม้ว่าจะเป็นนักเรียนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมในกลุ่มเดียวกัน ทว่า ผลการสอบไม่ได้แสดงถึงความสามารถและศักยภาพในการเรียนของนักเรียนอย่างแท้จริง เพราะ 1 ในกลุ่มคนที่ได้คะแนนสูงสุด 10 อันดับแรก ใช้เวลาเรียนเพื่อจบปริญญาตรีถึง 10 ปี ทั้งๆ ที่ควรเรียนจบภายใน 5 ปี ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และยังพบว่า แพทย์บางคนในโรงพยาบาลยังขาดทักษะ และไม่ได้รับการฝึกฝนหรือเตรียมตัวเพื่อดูแลคนไข้ได้ดีเท่าที่ควร

     ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจกับสิ่งการทุจริตในการสอบของนักเรียนเป็นจำนวนมาก และการร่วมรู้เห็นเป็นใจทุจริตของการนักการเมืองท้องถิ่น นายกรัฐมนตรีอินเดียได้ให้สัญญาว่า จะถอนรากถอนโคนเรื่องการคอร์รัปชัน โดยการเร่งตรวจสอบ และให้ศาลสูงตรวจสอบประเด็นการทุจริตครั้งนี้ ทั้งนี้ วิธีการแก้ไขปัญหาการทุจริตที่คณะกรรมการจัดสอบได้ชี้แจงออกมาคือ ห้ามนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าห้องสอบ ไม่ว่าจะเป็นมือถือ บูลทูธ หูฟัง ไมโครโฟน และสิ่งของอื่นๆ เช่น กระเป๋าเงิน กระเป๋าถือ กล้อง แว่นตาที่ไม่ใช่แว่นสายตา เช่น แว่นตากันลม (goggles) รวมไปถึงเครื่องประดับต่างๆ เช่น ต่างหู สร้อยคอ จี้ นาฬิกาข้อมือ

     นอกจากนี้ ยังกำหนดรูปแบบการแต่งกาย คือ เน้นเสื้อผ้าสีสว่าง ไม่มีกระดุมเม็ดใหญ่ ไม่ติดเข็มกลัดหรือตราสัญลักษณ์เครื่องหมายใดๆ และต้องใส่รองเท้าเปิด เช่น รองเท้าแตะ เพราะสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมานั้น สามารถใช้เป็นที่ซ่อนของไมโครชิพ หรือไมโครโฟนได้ หากตรวจพบจะถูกปรับ ชิ้นละ 2,000,000 รูปี มาตรการเหล่านี้ถูกวิจารณ์ว่าเป็นการทำแบบ วัวหายแล้วล้อมคอก”  

     เมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย การทุจริตโกงข้อสอบยังคงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะทุจริตในระดับโรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือการสอบคัดเลือกข้าราชการ รูปแบบการโกงข้อสอบที่พบในไทย มีตั้งแต่การลอกข้อสอบ จดโพย จดสูตรเข้าห้องสอบ รวมไปถึงการติดสินบนเจ้าหน้าที่ เพื่อให้รับเข้าเรียน หรือการว่าจ้างให้คนอื่นเข้าสอบแทน ซึ่งในระยะหลังได้มีการใช้เครื่องมือสื่อสารประกอบการทุจริตมากขึ้นด้วยเช่นเดียวกับกรณีของอินเดีย

     การทุจริตในการสอบของเด็กในวันนี้ สะท้อนถึงคุณภาพของผู้ใหญ่ในอนาคต หากผู้ปกครองและครอบครัวยอมรับการโกงของเด็กตั้งแต่วัยเยาว์แล้ว ก็เท่ากับเป็นการกำลังปลูกค่านิยมที่ผิดให้แก่เด็ก เมื่อเด็กเหล่านี้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะโตไปพร้อมกับความเชื่อว่า การได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการโดยการทุจริตนั้นไม่ผิด หรือถึงผิดก็เป็นสิ่งที่ไม่ร้ายแรง เป็นเรื่องน่าเศร้ายิ่งขึ้นที่เราเห็นพ่อแม่ผู้ปกครองยินดีและสมัครใจจ่ายเงินอย่างไม่ถูกต้อง เพื่อแลกกับโอกาสทางการศึกษาของลูกหลานตนเอง


     ในวันต่อต้านคอร์รัปชันแห่งชาติ ที่จะมาถึงในวันที่ 6 กันยายนนี้ สังคมไทยควรตระหนักว่า การสร้างจิตสำนึกให้กับบุคลในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ข้าราชการ หน่วยงานทางการศึกษาสถาบันการศึกษาของไทย พ่อแม่ ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ รวมถึงตัวนักเรียนนักศึกษาเอง เป็นสิ่งพื้นฐานที่ควรทำ โดยเริ่มตั้งแต่เด็ก เริ่มตั้งแต่การไม่ยอมรับว่าการโกงข้อสอบ ลอกข้อสอบ เป็นสิ่งที่ยอมรับได้ และควรแสดงออกเป็นการกระทำควบคู่กับมาตรการที่บังคับใช้อย่างจริงจัง ทั้งการเข้มงวดเอาจริงเอาจังในการตรวจนักเรียน

ที่มา http://share.psu.ac.th/blog/studentdiscipline/37131

สาเหตุการทุจริต

สาเหตุการทุจริต
1. เกิดจากความโลภ (Greed)
1.1 เป็นพฤติกรรมส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ขาดหลักยึดด้านคุณธรรมจนกลายเป็นคนที่เห็นแก่ได้  มีความอยากและความไม่รู้จักเพียงพอ
1.2 การขาดปทัสฐาน (Norm) ของความเป็นบุคคลสาธารณะ ( Publice persons) ที่ต้องยึดหลักความเป็นกลางและความเป็นธรรมเป็นที่ตั้งซึ่งเป็นอุดมการณ์ของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐสมัยใหม่

2. เกิดจากมีโอกาส
 2.1  การขาดความรู้ ความเข้าใจผิด หรือถูกใช้
2.2 ความเคยชินของเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคยกับการที่จะได้ ค่าน้ำร้อนน้ำชา
2.3 การถูกบังคับให้รับตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
2.4 อาศัยช่องว่างของระเบียบและตามกฎหมาย
2.5 ไม่ปฎิบัติตามกฎและระเบียบ
2.6 การทุจริตตามระบบ (Systemic) ด้านงบประมาณ  การเงินการคลังและการจัดซื้อจัดจ้าง
2.7 เกิดจากการใช้อำนาจ บารมี อิทธิพล หรือตำแหน่งหน้าที่ราชการที่มีอำนาจในการวินิจฉัย
2.8 โครงสร้างทางสังคม วัฒนธรรม  เศรษฐกิจ และการเมืองที่อ่อนแอ
2.9 โครงสร้างทางเศรษฐกิจมีการผูกขาดกลุ่มทุนขนาดใหญ่
2.10โครงสร้างทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นแบบอุปถัมภ์ค่านิยมที่ยกย่องคนมีฐานะร่ำรวย

3. เกิดจากการขาดจริยธรรม (Ethics)
3.1 การขาดคุณธรรม จริยธรรม
3.2 การขาดเจตนาจำนงที่แน่วแน่ของฝ่ายการเมืองในการแก้ไขปัญหา และภาคการเมืองขาดความมั่นคงและต่อเนื่อง

4. เกิดจากการประเมินความเสี่ยงที่จะถูกลงโทษ (Risk)
4.1 การขาดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง ขาดความหลากหลายในการตรวจสอบจากภาคส่วนต่าง ๆ  โดยเฉพาะภาคประชาชนรวมถึงการทำลายระบบตรวจสอบอำนาจรัฐ
4.2 ขาดการประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนทราบ
4.3 ประชาชนส่วนใหญ่มักจะเบื่อหน่าย  วางเฉย  ไม่มีปฏิกิริยาต่อพฤติกรรมการใช้

ที่มา https://blog.eduzones.com/yingmass/139845

พฤติกรรมทุจริต

     แม้เรื่องของการคอร์รัปชันจะเป็นหนึ่งในปัญหาสำคัญที่เยาวชนต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วนในประเทศไทย รวมถึงเยาวชนอยากขอให้ผู้นำประเทศซื่อสัตย์ แต่กลับพบว่าเยาวชนจำนวนมากมีพฤติกรรมทุจริตเสียเอง
              จากงานวิจัย คนไทยมอนิเตอร์ 2557 : เสียงเยาวชนไทยสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่มีอายุ 15-24 ปี จำนวน 4,000 คนทั่วประเทศ เกี่ยวกับ “พฤติกรรมทุจริต



  
     พบเยาวชนในสัดส่วนที่สูงถึงร้อยละ 81 มีพฤติกรรมการทุจริตโดยให้เพื่อนลอกข้อสอบหรือลอกข้อสอบเพื่อน
              ร้อยละ 63 มีพฤติกรรมเซ็นชื่อเข้าเรียนแทนเพื่อน
              ร้อยละ 38 ซื้อหรือใช้สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์
              ร้อยละ 18 ให้เงินตำรวจเพื่อหลีกเลี่ยงใบสั่ง
              ร้อยละ 6 มีพฤติกรรมให้สินบน
              ร้อยละ 5 มีพฤติกรรมรับสินบน
              ร้อยละ 2 ซื้อสิทธิ์ขายเสียง      

              โดยพฤติกรรมดังกล่าวมีแนวโน้มมากขึ้นเมื่อเยาวชนโตขึ้นหรืออยู่ในระดับการศึกษาที่สูงขึ้น เนื่องจากสังคมที่เปิดกว้างมากขึ้น ยังผลให้ทัศนคติต่อพฤติกรรมต่างๆ ของเยาวชนมีความเปลี่ยนแปลงไป

ที่มา http://www.theiiat.or.th/km/newsdesc.php?n=90210152129