วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

หน่วยความจำหลัก

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) 
    หน่วยความจำหลัก มีหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลการทำงานของคอมพิวเตอร์ ซึ่งรวมทั้งตัวคำสั่งในโปรแกรมและข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะกำลังทำงานอยู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ 

1. แรม (Random Access Memory : RAM) เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลสำหรับใช้งานทั่วไป  การอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูลใดๆ เพื่อการเขียนและการอ่านจะกระทำแบบการเข้าถึงโดยสุ่มคือ เรียกไปที่ตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลใดก็ได้ หน่วยความจำนี้เรียกว่า แรม หน่วยความจำประเภทนี้จะเก็บข้อมูลไว้ตราบเท่าที่มีกระแสไฟฟ้ายังจ่ายให้วงจร หากไฟฟ้าดับเมื่อใด ข้อมูลก็จะสูญหายทันที
          
         เครื่องพีซีคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามีหน่วยความจำแรมมากๆ จะทำให้สามารถใช้งานโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ๆ ได้ดีด้วย หน่วยความจำที่นิยมในปัจจุบันจะประมาณ 3264128256 เมกะ


แรมที่ใช้ในปัจจุบัน
1) SDRAM (Synchronous DRAM) มี 168 ขา SDRAM จะใช้สัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกําหนดการ ทํางานโดยใช้ความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเป็นตัวกําหนด และมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดที่ 528 MB ต่อวินาที



2)  DDR SDRAM หรือ SDRAM II (นิยมเรียก DDR RAM) มี 184 ขา DDR RAM แยกออกมาจาก SDRAMโดยจุดที่ต่างกันหลัก ๆ คือ DDR SDRAM สามารถใช้งานได้ทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกาเพื่อส่งถ่ายข้อมูล ทำให้อัตราการส่งถ่ายเพิ่มขึ้นได้ถึงเท่าตัว ซึ่งมีอัตราการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดถึง 1 G ต่อวินาที




 2. รอม (Read Only Memory : ROM) เป็นหน่วยความจำอีกประเภทหนึ่งที่มีการอ้างอิงตำแหน่งที่อยู่ข้อมูลแบบเข้าถึง โดยสุ่มหน่วยความจำประเภทนี้มีไว้เพื่อบรรจุโปรแกรมสำคัญบางอย่าง เพื่อว่าเมื่อเปิดเครื่องมา ซีพียูจะเริ่มต้นทำงานได้ทันทีข้อมูลหรือโปรแกรมที่เก็บไว้ในรอมจะถูกบันทึกมาก่อนแล้ว ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลใดๆ ลงไปได้ซึ่งข้อมูลหรือโปรแกรมที่อยู่ในรอมนี้จะอยู่อย่างถาวร แม้จะปิดเครื่องข้อมูลหรือโปรแกรมก็จะไม่ถูกลบไป

    


ความแตกต่างของแรมและรอม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น